-
ศัลยกรรมช่องปาก
ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery
ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery
ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย
1. การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด
2. การถอนฟัน
3. การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก
4. การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)
5. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)
6. ศัลยกรรมปลูกกระดูกวิธี Sinus Lift
การบูรณะฟันบริเวณฟันหลังของขากรรไกรบนด้วยรากเทียม มีข้อพิจารณาสำคัญอยู่ที่การละลายตัวของกระดูกรองรับฟันจากการที่สูญเสียฟัน ไป ทำให้เกิดปัญหาต่อการปลูกรากเทียมในบริเวณขากรรไกรบนเนื่องจากขาดกระดูกใน การรองรับรากเทียม จึงต้องทำการเสริมกระดูกก่อนที่จะผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยวัสดุเสริมกระดูก อาทิเช่น กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง, กระดูกมนุษย์, กระดูกสัตว์ หรือกระดูกสังเคราะห์ โดยการเสริมกระดูกสามารถทำได้ทั้งในแนวกว้าง, แนวสูง และการปลูกกระดูกในบริเวณพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลา โดยการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมในบริเวณกระดูกขากรรไกรบนด้านหลังนี้ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ในการวางแผน วินิจฉัยการรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆในการผ่าตัดเสริมกระดูกในบริเวณนี้เป็นอย่างดี
การถอนฟัน
ขั้นตอนการถอนฟัน
1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย
2. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
3. ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
การเตรียมบริเวณฟันที่จะได้รับการถอน
– ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน
– เริ่มการถอนฟัน
– ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง
การถอนฟันคุด
ฟันคุดที่ไม่ขึ้น ขึ้นบางส่วน หรือขึ้นเต็มแต่ไม่ได้ใช้งานเพราะขึ้นล้มเอียงเข้าหาลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม มักถูกถอนออกไป ซึ่งการถอน การถอนฟันคุดนั้น มีทั้งแบบถอนออกด้วยวิธีปกติ และการผ่าตัด การผ่าตัดมักทำในฟันคุดที่ขึ้นบางส่วนพร้อมทั้งล้มเอียง ยากแก่การดึงออกทั้งซี่ ทันตแพทย์จะทำการกรอแบ่งฟันออกเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะ ค่อยๆหยิบฟันแต่ละชิ้นออกมา การกรอแบ่งฟันทำเพื่อให้ดึงฟันออกง่าย ไม่กระทบกระเทือนต่อฟันซี่ใกล้เคียง ทำให้การรักษาสำเร็จรวดเร็ว ลดการบวมหรือชอกช้ำของเหงือกบริเวณที่ถอนฟันคุดนั้น
ฟันกรามซี่ที่อยู่่ในสุด หรือฟันกรามใหญ่ซี่ที่3 มักไม่ขึ้นในช่องปาก เนื้อจากเป็นฟันซี่สุดท้ายที่ขึ้นมาในบางครั้งพบว่าขนาดของซี่ฟันใหญ่กว่าช่องที่เหลืออยู่ ทำให้ฟันกรามซี่นี้ขึ้นได้บางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลย หากขึ้นได้บางส่วน และมักเอียงชนฟันกรามซี่หน้า ทำให้มีการผุ กร่อน มีกลิ่นปากจากเศษอาหารติดหมักหมมตรงซอกฟัน และนำไปถึงอาการฟันข้างเคียงโยก ปวด บวม อักเสบ ตั้งแต่ปานกลางจนถึงรุนแรง ในบางกรณีพบว่าเนื้องอกและถุงน้ำมีการเกิดร่วมกับฟันคุดได้ด้วย
ปัญหาฟันคุดที่กวนใจหลายๆคน ทำไมเราถึงต้องถอนฟันคุดกัน
ผลที่เกิดจากฟันคุดและข้อบ่งชี้ในการถอน
- การอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด (Pericoronitis) เป็นผลของฟันคุดล่างที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดกับฟันที่ขึ้นมาบางส่วน การอักเสบหรือการติดเชื้อจะเกิดใน follicle ที่เหลือตกค้าง (หุ้มตัวฟันคุด) ซึ่งอยู่ระหว่างฟันคุดกับกระดูกและเหงือกรอบ ๆ
- ฟันผุ เศษอาหารมักติดในซอกระหว่างฟันคุดกับฟันข้างเคียง ทำให้ฟันทั้งสองซี่ผุได้ง่าย แม้จะอุดแล้วก็มีโอกาสผุอีก การถอนฟันคุดออกจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ฟัน second molar ผุ (การอุดฟัน second molar จะอุดหลังจากถอนฟันคุดออกไปแล้ว เพื่อป้องกันวัสดุอุดแตกขณะถอนฟันคุด)
- เกิดถุงน้ำ ฟันคุดล่างจะเป็นฟันที่เกี่ยวข้องกับการเกิด dentigerous (follicular) cyst บ่อยที่สุด อาจไม่มีอาการปวด พบโดยภาพถ่ายรังสี กระดูกจะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ พบการบวมหรือการขยายใหญ่ของกระดูกขากรรไกรได้ กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจดันฟันคุดให้เคลื่อนห่างไปจากตำแหน่งเดิมได้มาก เช่น ไปอยู่ใกล้ขอบล่างของขากรรไกรหรือบริเวณ ramus เป็นต้น
- อาการปวด ฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่มันอยู่ หรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น อาการปวดอาจเป็นผลจากการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด ฟันผุ รากฟันข้างเคียงละลาย โรคปริทันต์ หรือพยาธิสภาพรอบรากฟัน หรือหาสาเหตุไม่ได้ คนไข้ทีมีอาการปวดบริเวณฟันคุดหรือปวดตื้อ ๆ บริเวณขมับหรือบริเวณใกล้เคียงโดยที่หาสาเหตุอื่นไม่พบ อาการปวดดังกล่าวอาจหายไปหลังจากถอนฟันคุดออก
- ฟันซ้อน เชื่อว่าแรงดันจากฟันคุดจะทำให้ฟันหน้าล่างเกซ้อนได้ จึงแนะนำให้ถอนฟันคุดในคนไข้จัดฟันก่อนหรือหลังการจัดฟัน
ข้อห้ามในการถอนฟันคุด
1. ในคนแก่ที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกลึก ๆ โดยไม่มีอาการ ไม่มีพยาธิสภาพและไม่มีทางติดต่อกับช่องปาก
2. สุขภาพร่างกายของคนไข้ไม่ดี ไม่พร้อมที่จะรับการผ่าตัด
3. ฟันคุดที่อาจใช้เป็นฟันหลัก (abutment) ได้ หรือกรณีที่อาจต้องถอนฟัน second molar แต่ต้องคำนึงถึงอายุและการเอียงตัวของฟันคุดได้
สาระความรู้เกี่ยวกับข้อแนะนำการรักษาทางทันตกรรม
การถอนฟัน
- 1. หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น
2. หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.
3. ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
4. ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
5. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
o ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
o ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด
ศัลยกรรมในช่องปาก
ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
1. ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง
2. เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์
3. งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
4. สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด
5. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด6. การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล
– ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ทันตแพทย์ให้ไป เป็นน้ำยาบ้วนปากรักษาเฉพาะการรักษาหลังการถอนฟัน Difflam หรือ C20 ) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า – ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
« Aug | ||||||
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
Tags
beautiful
Bleaching
braces
cleaning
damon
dental
dental implants
dental substitution
denture
fixed denture
gum
Implants
orthodontics
smile
teeth
Teeth Bleaching
Teeth Whitening
treatment
veneers
Whitening
ขูดหินปูน
ครอบฟัน
จัดฟัน
จัดฟันดาม่อน
จัดฟันเพื่อสุขภาพฟันที่ดี
ดัดฟัน
ดามอน
ทำความสะอาดฟัน
ปรึกษา
ฟอกสีฟัน
ฟันขาว
ฟันปลอม
ฟันปลอมติดแน่น
ฟันสวย
ฟันสีขาว
ยิ้มสวย
รักษารากฟัน
รากฟันเทียม
รากเทียม
วีเนียร์
สีฟัน
เคลือบฟันเทียม
เสียวฟัน
ใส่ฟัน
ใส่ฟันปลอม